การซ้อนทับกันของคลื่น
เมื่อคลื่นสองขบวนเคลื่อนที่มาพบกัน จะเกิดการรวมกันเป็นคลื่นใหม่ ทำให้การกระจัดรวมของคลื่นเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจาก หลังจากการซ้อนทับ คลื่นเคลื่อนที่ผ่านกันไป คลื่นเดิมจะแสดงคุณสมบัติเดิมออกมามีรูปร่างเหมือนเดิมอีก
รูปแสดงการซ้อนทับกันของคลื่นสีเขียวกับคลื่นสีแดง ได้ผลการสะท้อนเป็นสีน้ำเงิน
การกระจัดของคลื่นใหม่ที่เกิด ณ ตำแหน่งต่างๆเป็นผลบวกของการกระจัดของคลื่นทั้งสองที่ตำแหน่งนั้น (บวกกันแบบเวกเตอร์) ซึ่งมีผลให้แอมพลิจูดของคลื่นใหม่ = ผลรวมของแอมพลิจูดของคลื่นทั้งสอง
ผลการซ้อนทับกันของคลื่นมี 2 แบบ
1) การรวมกันแบบเสริม เป็น การรวมกันชนิดที่ทำให้การ กระจัดของคลื่นลัพธ์(คลื่นลูกใหม่)มีค่ามากขึ้นซึ่งเกิดจากคลื่นทั้งสองมี การกระจัดทิศเดียวกันมารวมกัน อาจเป็นการกระจัดบวกของทั้งสองคลื่น หรืออาจเกิดจากการกระจัดที่เป็นลบ ของทั้งสองคลื่นก็ได้มีผลให้แอมพลิจูดลัพธ์เพิ่มขึ้น
2) การรวมกันแบบหักล้างกัน
เป็นการรวมกันชนิดที่ทำให้การกระจัดของคลื่นลัพธ์(คลื่นลูกใหม่) มีค่าลดลง ซึ่งเกิดจากคลื่นทั้งสอง
มีการกระจัดทิศตรงข้ามมารวมกัน มีผลให้แอมพลิจูดลัพธ์ลดลง
การ
ซ้อนทับกันของคลื่นทำให้เกิดปรากฏการณ์หลายอย่าง เช่น
การแทรกสอดกันของคลื่น การเกิดคลื่นนิ่ง การเกิดปรากฏการณ์บีตส์ของเสียง
เป็นต้น ซึ่งจะได้ศึกษารายละเอียดต่อไป
วีดีโอแสดงการซ้อนทับกันของคลื่นแบบเสริมกันและแบบหักล้างกัน