การถ่ายโอนพลังงานของคลื่นกล

คลื่น (wave)

เป็นกระบวนการถ่ายโอนพลังงานจากแหล่งกำเนิดคลื่นออกไป โดยใช้คลื่นเป็นตัวถ่ายทอดพลังงาน แต่อนุภาคตัวกลางที่คลื่นผ่านไม่ได้เคลื่อนที่ไปพร้อมคลื่น แต่มีการสั่นรอบจุดสมดุลแบบซิมเปิลฮาร์มอนิก

ชนิดของคลื่น

การจำแนกชนิดของคลื่นใช้เกณฑ์การจำแนกดังต่อไปนี้(ก)  คลื่นตามขวางและคลื่นตามยาวเราแบ่งชนิดคลื่นตามลักษณะการสั่นของอนุภาคของตัวกลางได้ 2 แบบคือ


1. คลื่นตามขวาง(Transverse wave) ถ้าพิจารณาการเคลื่อนที่ของอนุภาคในเส้นเชือก จะเห็นว่าอนุภาคมีการเคลื่อนที่ขึ้นลงตามแนวดิ่ง ขณะที่คลื่นในเส้นเชือกเคลื่อนที่ไปตามแนวราบ เราเรียก การเคลื่อนที่ของ คลื่นในลักษณะที่อนุภาคมีทิศการสั่นตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น ว่า คลื่นตามขวาง เช่น คลื่นแสงและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น


ภาพเคลื่อนไหวแสดงคลื่นตามขวาง

 

2. คลื่นตามยาว(Longitudinal wave) ถ้าเรานำสปริงยาวๆมาวางตามแนวนอน ใช้มือตีสปริงที่ปลาย
ข้างหนึ่ง จะทำให้เกิดคลื่นที่มีช่วงอัดและช่วงขยายสลับกันและเคลื่อนที่ไปตามแนวแกนของสปริง
ซึ่งแสดงไว้ในรูป คลื่นที่เกิดขึ้นในสปริงเคลื่อนที่ไปทางขวามือโดยที่แต่ละขดของสปริงมีการสั่นตาม
แนวแกนของสปริง ตัวอย่างคลื่นตามยาว เช่น คลื่นในสปริง  คลื่นเสียง




แสดงการสั่นของอนุภาคอากาศ เมื่อคลื่นเสียงผ่านอากาศ

แสดงคลื่นตามยาวในสปริง


(ข) คลื่นกลและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเราแบ่งชนิดของคลื่นตามการใช้และไม่ใช้ตัวกลางได้ 2 แบบ
1. คลื่นกล (Mechanical wave)  เป็นคลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการถ่ายโอนพลังงานจึงจะทำให้คลื่นแผ่ออกไป ได้ ได้แก่คลื่นน้ำ คลื่นในเส้นเชือก คลื่นเสียง คลื่นแผ่นดินไหว เป็นต้น
2. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) เป็นคลื่นที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการถ่ายโอนพลังงาน เช่นแสง คลื่นวิทยุ เป็นต้น

สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

(ค) คลื่นดล และคลื่นต่อเนื่องเราแบ่งชนิดของคลื่นตามลักษณะการเกิดได้ 2 แบบ
1. คลื่นดล (Pulse wave)คือคลื่นที่เกิดจาการสั่นของแหล่งกำเนิดในช่วงสั้นๆ เช่น 1 - 2 ลูก
2. คลื่นต่อเนื่อง (Continuous wave)คือคลื่นที่เกิดจาการสั่นของแหล่งกำเนิดอย่างต่อเนื่อง
11 Mar 2013
Next
บทความใหม่กว่า
Previous
This is the last post.

ติวเข้ม ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ที่บ้าน กับ ทีม ติวเตอร์ดีดี แอทโฮม

กด like ติดตามเรา

ติดตามเรา บน facebook

STAT

Flag Counter

ติดตามข่าวสารการศึกษา

 
Top